วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

แนวคิด
        ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ครอบคลุมไปทั่วโลก โดยได้เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไว้ด้วยกัน ผ่านวิธีการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กลายเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากนี้ควรจะศึกษาถึงความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แพร่หลายอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ควรจะศึกษาถึงความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แพร่หลายอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคปัจจุบัน นอกจากประโยชน์ที่ได้รับอย่างมากมายจากการใช้บริการรูปแบบต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงโทษที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

สาระการเรียนรู้
        1. ความหมายของอินเทอร์เน็ต
        2. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
        3. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
        4. การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
        5. ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
        6. บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
        7. หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
        8. แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        1. อธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต
        2. บอกประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตได้
        3. อธิบายถึงรูปแบบของการบริการต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตได้
        4. บอกถึงบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
        5. จำแนกรูปแบบของการบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตได้
        6. บอกประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ตได้
        7. อธิบายถึงโรคติดอินเทอร์เน็ตได้
        8. บอกหน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้
        9. บอกแนวโน้มของการใช้อินเทอร์เน็ตในอนาคตได้

       เครื่องคอมพิวเตอร์ในโลกยุคปัจจุบัน นอกจากใช้ในด้านการเรียน การสอน การทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันแล้วนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ยังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นไม่ว่าจะอยู่ไกลกันก็ตาม ซึ่งสามารถสื่อสารได้ทั้งภาพ เสียง ข้อความและวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่ออำนวยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคที่เรียกว่า ยุค IT
       ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่บรรจุข้อมูลข่าวสารไว้มากมายจากหลายๆ แหล่งข้อมูล และเป็นข้อมูลที่หลากหลายประเภท ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญเพื่อให้ทุกคนเข้ามาค้นหาข้อมูลได้ ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อการทำงานและการสื่อสารในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง


       ความหมายของอินเทอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า “Inter Connection Network” คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยอยู่ภายใต้ระเบียบวิธีการสื่อสารเดียวกัน ที่เรียนกว่า โปรโตคอล (Protocol)

       ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
       เมื่อปี พ.ศ. 2510 ในช่วงที่ทั่วโบกยังหวาดกลัวสงครามนิวเคลียร์ กระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา (DOD : Department of Defense)  ต้องการที่จะสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงได้ริเริ่มโครงการที่จะสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความพิเศษคือ เมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางส่วนถูกทำลาย แต่เครือข่ายที่เหลืออยู่จะยังสามารถงานได้ จึงทำให้เกิดโครงการ อาร์พา (ARPA : Advanced Research Project Agency) เป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       ต่อมาในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) เครือข่ายอาร์พาเน็ต ได้ถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย 4 แห่ง คือ
       1. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแอนเจลิส
       2. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตา บาร์บารา
       3. มหาวิทยาลัยยูทาห์
       4. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด

       ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากทั้ง 4 สถาบันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันด้วย

       ในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) อาร์พาเน็ต ได้เรื่มนำมาใช้กว้างขึ้น ไม่ได้ใช้เฉพาะแต่เพียงในด้านการทหารอีกต่อไป เมื่อมหาวิทยาลัยและกระทรวงกลาโหมได้ทำการวิจัยและยินยอมที่จะเชื่อมระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน หลังจาก ปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ.1970) อาร์พาเน็ต จึงได้กำหนดมาตรฐานมาใช้ในการสื่อสารภายในระบบเครือข่าย ที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protacol) เพื่อให้เป็นระเบียบวิธีในการสื่อสารแบบเดียวกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ จึงทำให้เครือข่ายเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

       จนถึงปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ.1983) คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายอาร์พาเน็ตก็ใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมดคือ มาตรฐาน TCP/IP ซึ่งได้ใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน และในปีนี้เองการทำงานบนเครือข่ายไม่ได้ใช้แต่ในงานด้านการทหารเพียงอย่างเดียว แต่ได้แยกเครือข่ายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
       1. MILNET เป็นเครือข่ายที่ใช้ในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินงานด้านการทหารแต่เพียงอย่างเดียว
       2. อาร์พาเน็ต ซึ่งถูกใช้ในงานวิจัย
       ในปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation หรือ NSF) ได้ให้เงินทุนสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFnet โดยจุดประสงค์หลักของ NFSnet เพื่อรับรองการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย มิได้มีไว้สำหรับการทำงานในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น NSFnet จึงได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนสำหรับจุดประสงค์ในหารใช้งานขึ้นคือ ห้ามใช้ระบบเครือข่ายในทางการค้า ถึงแม้จะใช้สื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจระหว่างระบบเครือข่ายภายใต้ NSFnet ก็ตาม
       ต่อมาในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) ระบบเครือข่ายได้เติบโตขึ้นจนทำให้อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับการทำงานของระบบเครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งในปัจจุบัน โดยเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ได้มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อใช้การพาณิชย์ขึ้น ภายใต้ชื่อ Commercial Internet Exchange (CIX)
       ปัจจุบันมีหน่วยงานมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อนเป็นการเปิดโลกกว้างไปยังโลกที่ไร้พรมแดนทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และนับเป็นช่องทางของข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายบนโลกยุคปัจจุบัน


  
       อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
       ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา  กาญจนสุต จากสถานบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ  คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมกันสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
       - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
       - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
       - สายโทรศัพท์ทองแดง
       โดยเครือข่ายที่ได้วิ่งด้วยความเร็ว 1200-2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X .25 ผ่านการหมุน โทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาใช้กับงานของอาจารย์และงานสอนนักศึกษาต่อไป
       นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา  กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อโยงไปที่เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet-Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SunIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่งที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย
       นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทยกับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาการไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวาง
       ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์  กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลียกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
       เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ ชื่อโครงการว่า โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ
       หลังจากนั้นเนคเทคก็ได้พัฒนาเครือข่ายหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับMHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่าย ไทยสาร ใน พ.ศ. 2535
       ปลายปี พ.ศ. 2535 จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย เช่าซื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกาทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัญสัมชัญ และให้สมาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต
       และในปี พ.ศ. 2537 เนคเทค ได้เช่าซื้อสายเชื่อมสายที่สองที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNET ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คน ในปี พ.ศ. 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 และ 23,000 คน ในเดือนมิถุนายน ของปี พ.ศ. 2537
       AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
       ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน
      
 แสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

       การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
       ยุคปัจจุบันเกิดภาวะของการแข่งขันที่สูงในทุกๆ ด้าน ฉะนั้น มนุษย์จึงต้องการหาสิ่งที่จะเข้ามาเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดการบริการมากมายบนอินเทอร์เน็ตเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน หรือในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล เช่น

การติดต่อสื่อสาร
       การสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีให้เลือกหลายรูปแบบ
1.     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

       เป็นบริการเหมือนกับการรับ-ส่งจดหมายโดยผ่านบุรุษไปรษณีย์ แต่บุรุษไปรษณีย์ของการรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ก็คือ เว็บไซต์ต่างๆ ที่ได้สมัครเป็นสมาชิกเพื่อขอใช้บริการการส่งจดหมายได้ทั้งลักษณะของข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว การ์ดอวยพร เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ E-mail

2.     สนทนาออนไลน์ (Chat)
       ในเว็บไซต์ต่างๆ จะมีห้องสนทนา หรือ Chat Room เพื่อให้ได้เข้าไปพูดคุย หรือเป็นการหาเพื่อนใหม่ การบริการนี้เป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่นซึ่งต้องการมีเพื่อนคุย เป็นการหาประสบการณ์ หาความรู้ หรือแม่กระทั่งการหาเพื่อนที่รู้ใจ ก็สามารถใช้บริการนี้ได้ แต่ก็มีข่าวมากมายของการเกิดอาชญากรรมที่เนื่องจากไปพบเพื่อนใหม่ซึ่งรู้จักจากการใช้บริการสนทนาออนไลน์ (Chat Room)
       การสนทนาออนไลน์ (Chat) เป็นการสื่อสารด้วยข้อความ โดยการพิมพ์ข้อความตอบโต้กันได้ทันที และสามารถสนทนากับหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ Chat Room

3.     การสนทนาด้วยภาพและเสียง
       นอกจากวิธีการสนทนาออนไลน์ (Chat) ที่เป็นการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกับแล้วนั้นยังมีบริการที่สามารถพูดคุยเสมือนกับการใช้โทรศัพท์พูดคุยกันทั่วๆ ไป แต่วิธีการสนทนาชนิดนี้จะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมา เพื่อเป็นการถ่ายทอดภาพและเสียง ให้คู่สนทนาสามารถสื่อสารกันได้ คือการใช้ไมโครโฟนติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดเสียง และการใช้กล้องติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดภาพ
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสนทนาด้วยภาพและเสียง

4.     กระดาษข่าว (Bulletin Board System : BBS)
       เป็นบริการเสมือนบอร์ดข่าวสารที่ผู้ใช้สามารถที่จะเข้าไปแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือความคิดเห็นกันได้ โดยมีหัวข้อเรื่องให้เลือกตามความสนใจของแต่ละบุคคลเปรียบเสมือนเวทีแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับผู้อื่นทั่วโลก ที่เรียกว่า กลุ่มข่าว(Newsgroup)

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการกระดาษข่าว

5.     การส่ง SMS เข้ามือถือ
       Sms : Shot Message คือ การส่งข้อความเข้าไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือ ก็คืออีกรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารในยุคของอินเทอร์เน็ต

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการส่ง SMS

การศึกษา
       การท่องอินเทอร์เน็ตก็คือ การเดินเข้าไปยังห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายให้เราได้ไปค้นหา อินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญมากในโลกของการศึกษาในยุคปัจจุบันเพราะการค้นคว้าคือหัวใจในการศึกษาหาความรู้ ซึ่งบางครั้งข้อมูลต่างๆ ที่เราค้นหาได้มาจากห้องสมุดนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ ก็สามารถเข้าไปใช้บริการของอินเทอร์เน็ตเพื่อท่องเทียวเข้าไปยังห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้เราได้ข้อมูลที่มากมายและทันสมัย โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปยังห้องสมุดต่างๆ เหล่านั้น ก็สามารถที่จะหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
       สถาบันการศึกษาต่างๆ ก็ได้จัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หลักสูตรกิจกรรม แม้กระทั่งการให้บริการทางการศึกษาแก่บุคคลทั่วไป จะทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยไม่จำกัดขอบเขตการรับรู้ข้อมูลเฉพาะกลุ่มบุคคลเท่านั้น
       อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษาอย่างมากมาย แม้กระทั่งการแจ้งข้อมูลข่าวสาร การส่งงานของนักศึกษากับอาจารย์ ก็จะผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีการบริการหลายรูปแบบ เช่น

1.     การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)
       เป็นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะมีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่ได้จัดตั้งรูปแบบการสอนชนิดนี้ขึ้นมา เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาที่อยู่ต่างประเทศได้มีโอกาสเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่สามารถเรียน พูดคุยกับอาจารย์ ส่งงาน รวมทั้งการสอบ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซื่อการเรียนการสอนทางไกล จัดว่าเป็นระบบการศึกษารูปแบบใหม่


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการเรียนการสอนทางไกล

       
2.     บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
       บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีประโยชน์ในการเข้าไปค้นคว้า หรือศึกษาเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งการเรียนซ้ำนอกเหนือจากภายในห้องเรียนแล้ว หรือการเรียนในเนื้อหาที่สนใจ แต่สามารถเรียนได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือต้องการเรียนเมื่อไรก็สามารถที่จะทำได้


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์


       3. ห้องสมุดเสมือน (Virtual library)
       เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าไปค้นหาข้อมูล บทความ ข่าวสาร ที่สนใจ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีการที่สามารถเข้าถึงได้จากหลากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก      


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสมุดเสมือน

การทำธุรกิจออนไลน์ (E-COMMERCE)
       เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของกลุ่มคนจำนวนมากในโลก ซึ่งได้ใช้การบริการต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ก็จะมีบริการ ซื้อ-ขาย สินค้าบนอินเตอร์เน็ต นับเป็นการบริการอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม และปัจจุบันก็ได้ขยายระบบการค้าอิเล็กทรอเน็ตนับเป็นการบริการอีกรูปแบบหนึ่งทีได้รับความนิยม และปัจจุบันก็ได้ขยายระบบการค้าอิเล็กทรอสิกส์เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นระบบค้า หรือการตั้งร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีเงินลงทุนสูงไม่จำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้พนักงานในการดำเนินงาน ก็สามารถเปิดการค้าบน อินเทอร์เน็ตได้

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการแบบ E-Commerce


ข่าวสารประจำวัน
       ปัจจุบันเราสามารถอ่านข่าวสารได้จากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากหนังสือพิมพ์และสำนักข่าวต่าง ๆ ได้นำเสนอข่าวสารทั้งรายวัน รายสัปดาห์ ผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวกในการติดตามข่าวสาร

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการข่าวสารประจำวัน


การท่องเที่ยว
       การท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เราสามารถค้นหารายละเอียดในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเที่ยว ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว หรือเส้นทางในการเดินทาง แผนที่ สายการบิน สถานีขนส่ง ทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์มากมายทำให้สามารถวางแผนในการเดินทางได้สะดวกและถูกต้อง


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการท่องเที่ยว

ความรู้ด้านสุขภาพ
       ปัญหาด้านสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบันนี้ก็มีเว็บไซต์มากมายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเอดส์ เป็นต้น โรงพยาบาลต่าง ๆ ก็นำนานาสาระด้านสุขภาพและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านวิชาการ รวมถึงการตอบปัญหาด้านสุขภาพ ก็สามารถดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
ความบันเทิง
       ความบันเทิงบนอินเตอร์เน็ตสามารถหาได้มากมาย ทั้งดูหนัง ฟังเพลง คาราโอเกะ สถานีวิทยุออนไลน์ เรื่องราวข่าวสารในวงการบันเทิงทั่วโลก เว็บไซต์ของภาพยนตร์ และโรงภาพยนตร์รวมถึงการจองตั๋วชมภาพยนตร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แม้แต่การเล่นเกมออนไลน์ การตรวจดวงชะตาราศี หรือหารดูข้อมูลรายการบันเทิงของแต่ละสถานีโทรทัศน์ ก็ยังมีข้อมูลให้เราเลือกมากมาย เป็นรูปแบบของความบันเทิงที่สามารถหาได้อย่าง่ายดายบนเครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต




ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการความบันเทิง
การสมัครงาน
       วิธีการหางานในอดีตนั่นต้องซื้อหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับการสมัครงาย หรือการติดประกาศ ต่าง ๆ แต่ในยุคปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านการสมัครงาน โดยรวบรวมตำแหน่งงานว่างไว้ให้เลือกตามความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล และบางบริษัทก็สามารถที่จะสมัครงานผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปสมัครงานด้วยตนเอง




ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการการสมัครงาน

ธุรกรรมด้านธนาคารและการลงทุน
       ถ้าต้องการลงทุนในกิจการใดก็ตามสามารถที่จะสอบถามข้อมูลการลงทุน แหล่งเงินทุนซึ่งมีธนาคารมากมายที่จัดทำเว็บไซต์ขึ้นเพื่อนให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน  จะเป็นการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ และสามารถตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละธนาคารได้ก่อนที่จะเข้าไปทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินการประมูลในการตัดสินใจประมูลในการตัดสินค้าชนิดนั้น ๆ ได้ นี่คืออีกแนวทางในการใช้บริการบนอินเตอร์เน็ต




ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการธุรกรรมด้านธนาคารและการลงทุน
การบริการอื่น ๆ
       ยังมีบริการที่รับความนิยมอีกมากมาย เช่น แฟชั่น การเมือง ศาสนา ดาราศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม กีฬา เป็นต้น


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านต่างๆ
ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีในการสื่อสารที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ แต่เป็นลักษณะของการสื่อสารที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ และช่องทางการสื่อสารชนิดต่างๆ ไม่ได้เป็นการสื่อสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งโดยตรง จึงทำให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตได้

ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
       1.สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ทั่งโลก
       2.สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้เสมือนกับเราได้เข้าไปนั่งในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลมากมายจากทั่วทุกมุมโลก ให้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
       3.เปรียบเสมือนเวทีให้เข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ภายในห้องสนทนาและกระดานข่าวเป็นการเปิดโลกกว้างและวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจ
       4.สามารถติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
       5.สามารถเปิดการค้าได้ตัวตนเองโดยไม่ต้องหาสถานที่จัดตั้งร้านและพนักงานบริการแต่สามารถทำการค้าได้ด้วยตนเองเดียวและสามารถเปิดการขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
       6.สามารถซื้อสินค้าโดยไม่ต้องเดินทางไปยังร้านค้า แต่สามารถสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์ให้บริการ การชำระเงินก็สะดวก เช่น ชำระผ่านทางบัตรเครดิต การหักเงินผ่านบัญชีธนาคารและทางไปรษณีย์
       7.สามารถรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โดยเป็นการส่งจดหมายที่ไม่ต้องเสียค่าบริการ และสามารถรับ-ส่ง จดหมาย ได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศนอกจากจดหมายที่เป็นข้อความแล้ว ยังสามารถส่งบัตรอวยพรในเทศกาลต่าง ๆ ได้อีก โดยไม่ต้องเสียเงินในการซื้อบัตรอวยพร
       8.สามารถอ่านนิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทความ และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ฟรี เหมือนกับเราซื้อหนังสือฉบับนั้นมาอ่านเอง
       9.สามารถติดประกาศข้อความต่าง ๆ ที่ต้องการประกาศให้ผู้อื่นได้ทราบ เช่น ประกาศขายบ้าน ประกาศรับสมัครงาน ประกาศข้อความช่วยเหลือเป็นต้น
       10. มีบริการฟรีอีกมากมายที่สามารถใช้ได้จากอินเตอร์เน็ต เช่น รูปภาพ เพลงภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พื้นที่สำหรับสร้างเว็บไซต์ ดูหนัง เกม เป็นต้น

โทษของอินเตอร์เน็ต
       1.อินเตอร์เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีผู้คนมากมายได้เข้าไปใช้บริการ เป็นเวทีที่เปิดกว้างและให้อิสระกับทุกคนได้เข้ามาเขียนข้อมูล หรือติดประกาศต่าง ๆ โดยปราศจากการกลั่นกรองที่ดี ทำให้ข้อมูลที่รับไม่สามารถตรวจได้ว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงหรือไม่
       2.เกิดปัญหาของการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง หรือรูปภาพ มารวบรวมขาย หรือที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งคือ การตัดต่อรูปภาพบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง ให้กลายเป็นภาพที่ส่อในทางอนาจารมาเผยแพร่ ทำให้บุคคลเหล่านั้นเสียหาย
       3.ก่อให้เกิดปัญญาด้านอาชญากรรมจากการการเล่นอินเตอร์เน็ต เช่น การล่อลวงหญิงไปในทางมิดี โดยรู้จักกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต การก่อคดีข่มขืน เนื่องจากเว็บไซต์โป๊
       4.ก่อให้เกิดปัญหาการหมกม่นองเยาวนที่เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เป็นประโยชน์ จนทำให้เกิด โรคอินเตอร์เน็ต(webaholic) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและสังคมได้
       อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนดาบสองคม ที่มีทั้งประโยชน์ถ้าใช้ในทางที่ถูกต้อง และมีโทษถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้น ผู้ปกครองควรจะเอาใจใส่บุตรหลาน หรือให้ข้อแนะนำเพื่อจะได้นำเอาด้านที่ดีของอินเตอร์เน็ตไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินชีวิต

บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
       มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
       2.ต้องไม่รวบรวมการทำงานของผู้อื่น
       3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
       4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
       5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
       6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธ์
       7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่ลิขสิทธิ์
       8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
       9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
       10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ได้แก่
       1.การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของบริษัทที่ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
       2.ISP- Internet  Service providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาฯชย์ทั้ง 17 ราย(พ.ย. 2545) ในฐานะให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่าง ๆ
       3.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่เป็นบริการโรงเรียนทั่วประเทศ Thaisarn ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา Uninet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย Ednet เครือจ่ายของกระทรวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
       4. THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูแลระบบบริการสอบถามชื่อโมเมสัญญาชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคใต้การดูแลของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
       5.NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติในฐานะหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศผู้ดูแลเครือข่าย ThaiSarn Schoolner GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเตอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
       6. ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายราย เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย บริษัท ทศท คอร์ปอชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่น ๆ

แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
       ในอนาคตอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เพื่อทำให้งานเกิดประสิทธิภาพ
       ประเทศไทยได้มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และออกกฎหมายรับรองการทำงาน และระเบียบวิธีในการปฏิบัติงานบนอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการป้องกันสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้หน่วยงานราชการ จัดทำรูปแบบของ E-GOVERMENT เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร และให้บริการแก่ประชาชน เช่น การคำนวณและชำระภาษีออนไลน์ของกรมสรรพกรงานรบริการค้นทะเบียนกระทรวงมหาดไทย และส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น
       แนวโน้มการลงทุนด้านธุรกิจบนจออินเตอร์เน็ตได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีปริมาณคนที่เข้าไปใช้บริการอินเตอร์เพิ่มขึ้นทุกวินาที และการแข่งขันทางการค้าเกิดขึ้นสูงจึงต้องพยายามหาวิธีเข้าถึงประชาชน เป็นการทำธุรกรรมทางอินเล็กทรอนิกส์ เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อขายหุ้นธนาคารออนไลน์ การซื้อ-ขาย สินค้า เป็นต้น
       อินเตอร์เน็ตจึงเป็นการขยายโอกาสทางการค้าให้กับธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่มิได้มีการซื้อ-ขาย สินค้าเฉพาะภายในประเทศ แต่สามารถขยายการค้าได้ทั่วโลกโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1. ความหมายของอินเทอร์เน็ต คือ
       ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก
       ข. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สาย LAN ในการเชื่อมต่อ
       ค. เป็นการสื่อสารโดยใช้ ภาพ เสียง เท่านั้น
       ง. ใช้สำหรับการทำงาน ระหว่างประเทศ

2. อินเทอร์เน็ตย่อมาจาก
       ก. Inter Network Connection
       ข. Inter Computer Network
       ค. Inter Computer Online
       ง. Inter Connection Network

3. เครือข่ายอาร์พาเน็ต ได้เชื่อมกับมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ.ใด
       ก. พ.ศ. 2511
       ข. พ.ศ. 2512
       ค. พ.ศ. 2513
       ง. พ.ศ. 2514

4. เครือข่ายอาร์พาเน็ต ได้ถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอะไรบ้าง
       ก. มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
       ข. มหาวิทยาลัยยูทาห์
       ค. สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
       ง. ถูกทุกข้อ

5. ความหมายของ คำว่า MILNET คือ
       ก. เป็นเครือข่ายใช้ดำเนินงานด้านทหารเพียงอย่างเดียว
       ข. เป็นเครือข่ายใช้ดำเนินงานด้านราชการเพียงอย่างเดียว
       ค. เป็นเครือข่ายใช้ดำเนินงานด้านตำรวจกับราชการเท่านั้น
       ง. ไม่มีข้อถูก

6. ใครเป็นบุคคลแรกที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
       ก. อาจารย์กันนิกา   กลิ่นจันทร์
       ข. อาจารย์สุภาวินี   พรมมา
       ค. อาจารย์กาญจนา   กาญจนสุต
       ง. อาจารย์สาวิตรี    จิตอาสา

7. การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีด้านอะไรบ้าง
       ก. การติดต่อสื่อสาร
       ข. การศึกษา
       ค. การทำธุรกิจออนไลน์
       ง. ถูกทุกข้อ

8. ใครเป็นคนศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอาการ โรคติดอินเทอร์เน็ต
       ก. Carmerny P Pong
       ข. Kimberly S Young
       ค. Samfa Para
       ง. Tommy A Cersaer

9. เครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วอยู่ภายใต้ระเบียบวิธีการเดียวกันที่เรียกว่า
       ก. Process
       ข. Multifunction
       ค. Protocol
       ง. Lan Network

10.การสื่อสารแบบใดที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
       ก. การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร บาทความ
       ข. ส่งงาน หรือข่าวสาร ผ่านทาง E-mail
       ค. ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
       ง. ถูกทุกต้อง

เฉลย 1.ก  2.ง  3.ข  4.ง  5.ก  6.ค  7.ง  8.ข  9.ค  10.ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น