วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 7 การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol: FTP)

แนวคิด

        การโอนย้ายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพและประเภทไฟล์ข้อมูล มีลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลทั้งการดาวน์โหลด และการอัพโหลด ซึ่งสามารถจัดแบ่งประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลดออกเป็น 4 ประเภท คือ แชร์แวร์ เดโมแวร์ โปรแกรมรุ่นเบต้า และโปรแกรมฟรีโดยเมื่อต้องการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดเพื่อบอกถึงประเภทของโปรแกรม นอกจากนี้การดาวน์โหลดข้อมูลประเภทต่างๆ การอัพโหลดข้อมูลก็มีความสำคัญ ถ้าเราต้องการสร้างโฮมเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือการเช่าพื้นในการสร้างโฮมเพจจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็จะต้องใช้โปรแกรมช่วยในการอัพโหลดข้อมูล เช่น โปรแกรม WS-FTP
สาระการเรียนรู้

        1. ลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต      
                1.1 การดาวน์โหลด (Download)
                1.2 การอัพโหลด (Upload)                               
        2. ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด                                      
                 2.1  แชร์แวร์ (Shareware)                          
                2.2  เดโมแวร์ (Demoware)                        
                2.3 โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software)
                2.4 โปรแกรมฟรี (Freeware)
        3. ขั้นตอนของการดาวน์โหลด
                3.1 การดาวน์โหลดประเภทไฟล์ข้อมูล   
                3.2 การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ
        4. การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
        5. การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
        6. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม WS-FTP
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

        1. อธิบายความหมายและประเภทของการโอนย้ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้
        2. บอกความแตกต่างระหว่างประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลดได้
        3. อธิบายขั้นตอนของการดาวน์โหลดข้อมูลได้
        4. อธิบายขั้นตอนการใช้โปรแกรม Winzip ได้
        5. บอกขั้นตอนของการขอพื้นที่ฟรีสำหรับการสร้างเว็บไซต์ได้
        6. อธิบายวิธีการอัพโหลดข้อมูลได้     

        การท่องไปในอินเทอร์เน็ตทำให้เราได้พบข้อมูลมากมาย เช่น ไฟล์ข้อมูล โปรแกรม หรือ รูปภาพที่น่าสนใจ ซึ่งเราอาจจะต้องการนำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บไว้เพื่อนำไปใช้งานในโอกาสต่อไปซึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตต่างๆนั้น มักจะอนุญาตให้ผู้เข้าไปเยี่ยมชม สามารถที่จะดึงข้อมูลเหล่านั้นมาเก็บไว้ที่เครื่องของตนเองได้ เพราะส่วนใหญ่ให้บริการฟรี และให้อิสระในการย้ายข้อมูลทำให้เกิดแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

        ลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
        ลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 

 การดาวน์โหลด (Download)



        การดาวน์โหลด คือ การนำเอาไฟล์ข้อมูล โปรแกรม หรือรูปภาพ จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น การดาวน์โหลดโปรแกรมป้องกันไวรัสจาก www.sanook.com มาใช้งานที่เครื่องของเรา เป็นต้น

การอัพโหลด  (Upload)  


        การอัพโหลด คือ การนำเอาไฟล์ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไปเก็บไว้ยังระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การสร้างเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เมื่อต้องการที่จะเผยแพร่ข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็จะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปเก็บยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า “Web Server”
             
ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด    


        ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถที่จะดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้สามาจัดแบ่งประเภทของโปรแกรมออกเป็น 4 ประเภท คือ                   

แชร์แวร์ (Shareware)

        แชร์แวร์ (Shareware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งผู้ผลิตโปรแกรมจะให้เราดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาทดลองใช้ โดยจะกำหนหดระยะเวลาในการใช้งาน เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน นับจากวันที่เราติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อครบตามระยะเวลาแล้วโปรแกรมนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้ หรือถ้าใช้งานได้โปรแกรมนี้จะไม่สมบูรณ์ รูปแบบของการใช้งานบางอย่างจะถูกระงับการใช้ เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้ในครั้งต่อไป โปรแกรมจะถามหมายเลขลงทะเบียน ซึ่งถ้าผู้ใช้พึงพอใจในการทำงานของโปรแกรมก็สามารถทำการสั่งซื้อโปรแกรม เพื่อนำมาใช้งานได้ ผู้ผลิตโปรแกรมก็จะให้หมายเลขลงทะเบียนโปรแกรมแก่ผู้ที่ทำการสั่งซื้อ เมื่อเราได้ป้อนหมายเลขลงทะเบียนของโปรแกรมถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมซึ่งเป็นแชร์แวร์ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโปรแกรมจริง ซึ่งมีคุณสมบัติที่สมบูรณ์ในการใช้งานได้ทันที


          ตัวอย่าง โปรแกรม SWISH V2 เป็นโปรแกรมแชร์แวร์ที่ให้ทดลองใช้จะไม่สามารถเปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมาใช้งานได้ เพราะการเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานจะถามหา Site Key เพื่อให้กรอกหมายเลขลงทะเบียน ซึ่งจะต้องสั่งซื้อโปรแกรมจากผู้ผลิตจึงจะให้หมายเลขของ Site Key แล้วก็จะสามารถทำงานได้ต่อไป 

  เดโมแวร์ (Demoware)     

        เดโมแวร์ (Demoware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ แต่จะถูกกำจัดขอบเขตของการใช้งาน ซึ่งโปรแกรมในรูปแบบเต็มอาจจะมีเมนูสำหรับการใช้งาน 5 เมนู แต่โปรแกรมเดโมแวร์นั้นอาจจะเปิดให้เราสามารถใช้งานได้เพียง 2 เมนู เป็นการให้ทดลองใช้เพียงบ่างส่วนของโปรแกรม แต่ลักษณะของโปรแกรมแชร์แวร์นั้นจะให้เราสามารถใช้งานได้ครบทุกส่วนของโปรแกรมแต่กำหนดระยะเวลาในการทดลองใช้งาน ซึ่งถ้าเราต้องการจะใช้งานจริงของโปรแกรมประเภทนี้จะต้องสั่งซื้อโปรแกรม จากผู้ผลิตต่อไป

โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software)

        โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software) บางครั้งอาจเรียกว่า โปรแกรมรุ่นอัลฟา (Alfa Software) ซึ่งโปรแกรมในรูปแบบนี้ จะเป็นโปรแกรมรุ่นที่ยังสร้างไม่สมบูรณ์ ผู้ผลิตโปรแกรมมักจะนำโปรแกรมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นี้มาทดลองใช้งาน และเมื่อมีปัญหาใดในการใช้งาน ก็ให้ผู้ใช้แจ้งกลับไปยังผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงโปรแกรมต่อไป ซึ่งเปรียบเสมือนให้ผู้ใช้โปรแกรมเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม โปรแกรมลักษณะนี้เมื่อเราดาวน์โหลดมาใช้งานแล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานมากมาย หรือบางครั้งนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วไม่สามารถลบออกจากหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะนำโปรแกรมเหล่านี้มาใช้งาน

โปรแกรมฟรี (Freeware)
        บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมมากมายที่ให้บริการฟรี ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ หรือบางเว็บไซต์ก็จะเป็นตัวกลางที่ช่วยรวบรวมโปรแกรมฟรีเหล่านี้มาไว้ให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดได้ง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรมฟรีเหล่านี้อาจจะมีคุณสมบัติในการทำงานได้ดีเช่นเดียวกับโปรแกรมที่มีการสั่งซื้อขายขายทั่วๆไป เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Liunx ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้นำมาเป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือโปรแกรม PHP ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมฟรีอีกมากมาย ทั้งโปรแกรมของไทยและโปรแกรมของต่างประเทศ ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ทั่วๆ ไป

        ขั้นตอนของการดาวน์โหลด
        สามารถจัดแบ่งรูปแบบของการดาวน์โหลดข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ

การดาวน์โหลดประเภทไฟล์ข้อมูล
        บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีไฟล์ข้อมูลต่างๆ มากมาย โดยอาจจะถูกจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านั้น หรือมีเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ที่มักจะรวบรวมโปรแกรมที่นิยมไปเก็บเพื่อให้สมาชิก หรือผู้ขอใช้บริการสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทำให้ สามารถค้นหาไฟล์ที่ต้องการได้รวดเร็ว เช่น www.thaiware.comwww.hunsa.com เป็นต้น ซึ่งไฟล์ข้อมูลจะประกอบด้วย ไฟล์โปรแกรม ไฟล์เกม และไฟล์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย

        ตัวอย่าง การดาวน์โหลดโปรแกรม Loy Dict 2005 จากเว็บไซต์ www.kapook.com

สามารถดำเนินการดาวน์โหลดได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

        1. พิมพ์ www.kapook.com ในช่อง Address
        2. เลือกโปรแกรมที่ต้องการดาวน์โหลด
        3. เมื่อค้นหาโปรแกรมที่ต้องการดาวน์โหลดได้เรียบร้อยแล้ว ภายในรายละเอียดของโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งของการดาวน์โหลดเพื่อให้ผู้ใช้คลิกเลือก และโปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดให้ทันที
        4. เมื่อคลิกที่ Download แล้ว จะแสดงหน้าต่าง File Download เพื่อให้เลือก ถ้าเราต้องการเพียงแค่เปิดข้อมูลนั้นขึ้นมาดูเท่านั้น ให้เลือก Open แต่ถ้าต้องการบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราด้วย ให้เลือก Save
        5. เมื่อคลิกเลือกที่ Save เพื่อบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปคือ ตำแหน่งที่จะนำข้อมูลนี้ไปเก็บไว้ในช่อง Save in:
        6. เริ่มทำการดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ในตำแหน่งที่กำหนดให้ โดยจะแสดงลักษณะสถานะของการดาวน์โหลดตั้งแต่เริ่มต้นจนประทั้งดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จที่หน้าต่าง File Download เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างดาวน์โหลดจะแจ้งให้ผู้ใช้ได้ทราบได้ทราบถึงข้อผิดพลาดนั้นด้วย เพื่อยกเลิกการดาวน์โหลด หรือจะทำการดาวน์โหลดใหม่อีกครั้ง
        7. เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกเลือก

                Open                  : เพื่อเปิดดูข้อมูล หรือโปรแกรมที่ได้ดาวน์โหลดไว้

                Open Folder        :  เพื่อเปิด Drive และโฟลเดอร์ที่จัดเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่ได้ดาวน์โหลดไว้

                Close                  :  ปิดหน้าต่างการดาวน์โหลด

        8. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานได้ในลำดับต่อไป

 การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ
        การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพสามารถทำได้หลายกรณี เช่น บันทึกเป็นไฟล์ชนิดรูปภาพบันทึกเป็นภาพ Background บันทึกเป็นภาพ Desktop Item เป็นต้น

        วิธีการบันทึกรูปภาพสามารถทำตามขั้นตอน ต่อไปนี้

        1. เมื่อเราคลิกที่รูปภาพแล้วปรากฏสัญลักษณ์นี้ แสดงว่าเราสามารถบันทึกรูปภาพชนิดนี้ได้ โดยคลิกที่
        2. หรือเมื่อเร่าคลิก Mouse ด้านขวา จะปรากฏเมนูขึ้น ให้เลือกที่ Save Picture As:
        3. จะปรากฏหน้าต่าง Save Picture เพื่อกำหนด Drive และโฟลเดอร์ ที่ Save in เพื่อบอกตำแหน่งที่ต้องการบันทึกรูปภาพ
        4. กำหนดชื่อของรูปภาพ หรือจะใช้ชื่อเดิมของรูปภาพที่จะปรากฏให้เห็นในช่อง File name ก็ได้
        5. Save as type: คือ นามสกุลของรูปภาพ
        6. เมื่อต้องการนำรูปภาพไปเป็นภาพ Background บนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกที่ Set as Background
        7. เมื่อเลือก Set as Desktop Item… จะปรากฏข้อความเพื่อถามความแน่ใจ เพื่อจะทำรูปภาพเป็น The Active Desktop ที่จะปรากฏบนหน้าจอ Desktop
        8. เมื่อเลือกที่ E-mail Picture จะเป็นการส่งรูปภาพต่อไปให้เพื่อนทางอีเมล์ ซึ่งเราสามารถกำหนดขนาดของรูปภาพที่ต้องการจะส่งให้มีขนาดเล็ก เพื่อทำให้การส่งรูปภาพทำได้รวดเร็วขึ้น โดยคลิกที่ Make all my pictures smaller
        9. แต่ถ้าต้องการให้รูปภาพมีขนาดเท่ากับขนาดของภาพจริง ให้คลิกที่ Keep the originals sizes โดยจะปรากฏหน้าต่าง Send Pictures via E-mail
 10. จะปรากฏหน้าต่างเพื่อให้กำหนดที่อยู่ของผู้รับ เพื่อส่งอีเมลได้ทันที



ไฟล์นามสกุล ต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต
นามสกุล
ชนิดไฟล์
โปรแกรมที่ใช้เปิดไฟล์
.avi
.bmp
.com

.doc
.dat
.exe
.gif

.jpg

.mpg
.pdf
.rm
.txt
.zip
ไฟล์วีดีโอ
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap
ไฟล์โปรแกรมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ไฟล์เอกสาร Word
ไฟล์ภาพยนตร์ในวิดีโอซีดี
ไฟล์โปรแกรมในเครื่อง PC
ไฟล์ภาพแบบ Graphic
Interchange Format
ไฟล์ภาพแบบ Joint Photo
Graphic Experts Group
ไฟล์วิดีโอ
ไฟล์เอกสารแบบ pdf
ไฟล์ Real Audio
ไฟล์อักษรธรรมดา
การบีบอัดข้อมูล
โปรแกรม Windows Media Player
โปรแกรม Paint และ Photoshops
เปิดโปรแกรมโดย Double Cilck ที่ไฟล์

โปรแกรม Microsoft Word
โปรแกรม Windows Media Player
เปิดโปรแกรมโดย Double Cilck ที่ไฟล์
โปรแกรม Paint และ Photoshops

โปรแกรม Photoshops และ ACDSee และ Internet Explorer
โปรแกรม Windows Media Player
โปรแกรม Adobe Acrobet Reader
โปรแกรม Read Player
โปรแกรม Notepad และ Microsoft Word
โปรแกรม Winzip



การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip

        บางครั้งไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นที่จะต้องบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กก่อน เพื่อที่จะทำให้การดาวน์โหลดทำได้รวดเร็วขึ้น เราสามารถสังเกตได้ว่าไฟล์ใดที่ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลมา โดยดูได้จากนามสกุลของไฟล์นั้นจะมีนามสกุล .zip เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลมาแล้วจะต้องทำการขยายไฟล์ข้อมูลก่อนจึงจะสามารถอ่านข้อมูล หรือนำไปใช้งานได้ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการขยายไฟล์ คือ

        โปรแกรม Winzip จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
        1. Wizard จะช่วยอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน โดยเพียงแต่ตอบคำถามทีละขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น
        2. Classic แบบนี้ผู้ใช้โปรแกรมจะเป็นคนกำหนดทั้งหมดตามความต้องการ


การติดตั้งโปรแกรม Winzip
        การติดตั้งโปรแกรม Winzip
1. เลือกสัญลักษณ์ของการติดตั้งโปรแกรมแล้วดับเบิ้ลคลิก
2. ปรากฏหน้าต่าง Winzip Setup เลือกคลิกที่ Setup เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม
3. แสดงสถานะของการขยายไฟล์ข้อมูล SETUP.WZ
4. กำหนด Drive และโฟลเดอร์ที่จะเก็บโปรแกรมเมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว โดยปกติจะถูกกำหนดขึ้นมาให้ แต่ถ้าต้องการที่จะเลือกตำแหน่งของการจัดเก็บโปรแกรมใหม่ให้คลิกที่ Browes.... เพื่อกำหนด Drive และโฟลเดอร์ใหม่ตามต้องการ
5. คลิกที่ OK
6. แสดงสถานะกำลังติดตั้งโปรแกรม
7. เมื่อได้ติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้วปรากฏหน้าต่าง Setup Complete ให้คลิกที่ OK ซึ่งจะมีหน้าต่างๆ Setup Complete ทั้งหมด 2 หน้าต่าง
8. แสดง Wizard ของโปรแกรม Winzip คลิกที่ Next
9. แสดงหน้าต่างของข้อตกลงสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ให้คลิกที่ yes เพื่อยอมรับในเงื่อนไข
10. คลิกที่ Next
11. กำหนดให้เลือกรูปแบบการใช้งานของโปรแกรม Winzip คือ แบบ Classic หรือ แบบ Wizard แล้วให้เลือก Next
12. คลิกที่ Next --> Finish
13. เมื่อได้ติดตั้งโปรแกรม Winzip เรียบร้อยแล้ว จะสัญลักษณ์ของโปรแกรมอยู่ที่หน้าจอ Desktop เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถดับเบิ้ลคลิกที่สัญลักษณ์ของโปรแกรม หรือคลิกขวาที่ข้อมูลที่ต้องการใช้งานโปรแกรม Winzip (สามารถดูวิธีการใช้โปรแกรมจากหัวข้อการขยายและการบีบอัดไฟล์ข้อมูล)


การขยายไฟล์ข้อมูลด้วย Winzip
        1. คลิกขวาที่ไฟล์ที่มีนามสกุล .zip
        2. เลือกที่ Winzip --> Extract to...: ให้ขยายไฟล์ไปไว้ตำแหน่งที่กำหนดให้

                Extract to here        :  ให้ขยายไฟล์ไปไว้ที่โฟล์เดอร์ที่ได้จัดเก็บ
                                                ไฟล์ข้อมูล Zip อยู่

                Extract to folder     :   ให้ขยายไฟล์ไปไว้ที่โฟล์เดอร์ที่อยู่ขณะนี้ พร้อม
                                                ทั้งสร้างโฟล์เดอร์ย่อยในชื่อเดียวกับไฟล์ Zip

        3. ให้กำหนด Drive และโฟล์เดอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ได้ขยายไฟล์แล้ว
        4. คลิกที Extract
        5. จะปรากฏชื่อไฟล์ที่ได้ทำการขยายไฟล์ข้อมูลอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว

การบีบอัดไฟล์ข้อมูลด้วย Winzip
        1. คลิกขวาที่ไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการจะทำการบีบอัดข้อมูล
        2. เลือกที่ Winzip--> Add to Zip file...
        3. คลิกที่ New
        4. เลือก Drive และโฟล์เดอร์ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่ช่อง Save in :  พร้อมทั้งตั้งชื่อไฟล์ Zip ที่ช่อง File name :
        5. แสดงสถานะในขณะทำงานของโปรแกรม Winzip
        6. แสดงรายละเอียดของไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ทำการยบีบอัดข้อมูล
        7. เมื่อกลับไปดูที่ Drive และโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดให้จัดเก็บไฟล์ข้อมูล จะปรากฏไฟล์ Zip ที่สร้างใหม่ดังรูป

การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
        การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ สามารถขอได้จากเว็บไซต์หลากหลายที่ให้บริการ ซื่งเมื่อได้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เพื่อสร้างโฮมเพจแล้ว จะได้รับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลและเมื่อเราได้สร้างโฮมเพจของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะทำการอัพโหลด (Upload) โฮมเพจไปไว้ยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทันที ในที่นี้ขอแนะนำวิธีในการขอพื้นที่สร้างโฮมเพจจาก www.thcity.com โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้

        1. พิมพ์ www.thcity.com ที่ Address
        2. คลิกที่ลงทะเบียนฟรีเว็บ
        3. จะปรากฏข้อตกลงในการใช้ฟรีโฮมเพจ เมื่อได้อ่านข้อตกลงแล้วให้กำหนด User ID และ Password แล้วให้คลิกที่ลงทะเบียน
        4. จะปรากฏหน้าต่าง Auto Complete เพื่อถามว่าต้องการที่จะทำให้จำ Password ไว้หรือไม่ถ้าเข้ามาใช้ในครั้งต่อไป
        5. จะปรากฏชื่อ URL ที่ทางเว็บไซต์ให้แก่เรา
        6. ให้กรอกข้อมูลของผู้ใช้ (User) พร้อมทั้งคลิกที่ยืนยันการกรอกข้อมูลส่วนตัว
        7. จะปรากฏข้อความแสดงการรับเข้าเป็นสมาชิก โดยจะแสดง URL, หมายเลขสมาชิกชื่อ User สำหรับการ Login เพื่อขอใช้บริการในเว็บไซต์
        8. การ Login เพื่อขอใช้บริการจะต้องกำหนด User/Domain และรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ในการลงทะเบียน แล้วคลิกที่ล็อกอิน
        9. เมื่อล็อกอินเข้าไปในระบบแล้วทางเว็บไซต์จะแจ้งชื่อ Host และหมายเลข IP Address ของเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการติดต่อโดยใช้โปรแกรม WS-FTP ในการอัพโหลดข้อมูลต่อไป

การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม WS-FTP
        โปรแกรม WS-FTP จะช่วยให้เราสามารถอัพโหลด (Upload) ข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงได้ทำการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน ดังต่อไปนี้

การติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
        1. คลิกเลือกเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
        2. เตรียมการติดตั้งโปรแกรม
        3. คลิก Next เพื่อเริ่มติดตั้งโปรแกรม
        4. แสดงหน้าต่างของข้อตกลงสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ให้คลิกเลือก I accept...เพื่อยอมรับในเงื่อนไข และคลิกที่ Next
        5. กำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
        6. กำหนดชื่อของโฟลเดอร์ที่จะเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
        7. แสดงหน้าต่าง Start Copying Files คลิกที่ Next
        8. แสดงสถานะของการติดตั้งโปรแกรม
        9. คลิกที่ Finish เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม

การใช้งานโปรแกรม WS-FTP

        เมื่อติดตั้งโปรแกรม WS-FTP เรียบร้อยแล้ว จะต้องกำหนดค่าเพื่อใช้งานในโปรแกรมโดยสามารถที่จะปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้
        1. ปรากฏหน้าจอ Welcome คลิกที่ Next
        2. ปรากฏหน้าจอ Site Name สำหรับกำหนดชื่อของ Site เพื่อไว้จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่อัพโหลดไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) เช่นเดียวกับการกำหนดโฟลเดอร์ไว้ที่เครื่องแม่ข่าย เช่น Kulrapee แล้วคลิกที่ Next
        3. ขั้นต่อมาจะปรากฏหน้าจอ Server Address เพื่อให้กำหนดหมายเลข IP Address ของเครื่องแม่ข่ายที่เราต้องการจะนำข้อมูลไปอัพโหลดไว้ เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ Next
        4. User Name และ Password จะต้องถูกกำหนดเมื่อเราได้ขอพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ไว้กับเว็บไซต์ที่ให้บริการ หรือผู้ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (ISP) ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการเช่าพื้นที่ หรือการขอพื้นที่ฟรีก็ตาม
        5. Connection Type จะต้องกำหนดรูปแบบของการติดต่อให้เลือก FTP แล้วคลิกที่ Next       
        6. Finish จะแสดงรายละเอียดสำหรับการติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย (Server) รวมทั้ง User Name และ Password ทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนข้างต้น คลิกที่ Finish

การอัพโหลดข้อมูล (Upload)
        หลังจากที่ได้ขอพื้นที่ในการเก็บโฮมเพจของเราผ่านทางเว็บไซต์ www.thcity.com ต่อมาก็ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP รวมทั้งการกำหนดค่าเพื่อโปรแกรม WS-FTP และขั้นตอนต่อไปก็คือ การอัพโหลด (Upload) ข้อมูลของโฮมเพจผ่านทางเว็บไซต์ที่ขอให้บริการ สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
        1. ดับเบิ้ลคลิกที่สัญลักษณ์ของโปรแกรม WS-FTP ที่หน้าจอ Desktop
        2. จะปรากฏหน้าต่างแรก คือ Tip of the Day ถ้าเราต้องการที่จะอ่านต่อไป ให้เลือกที่ Next Tip แต่ถ้าไม่ต้องการอ่านให้เลือก Close
        3. ลำดับต่อมาจะปรากฏหน้าต่างของการอัพโหลด (Upload) ข้อมูล ซึ่งจะสังเกตได้ว่าข้อมูลที่ปรากฏในช่อง Address, User ID, Password จะปรากฏให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเพื่อใช้งานในโปรแกรม WS-FTP ด้านล่างหน้าต่างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                ด้านซ้ายมือ        เปรียบได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
                ด้านขวามือ         เปรียบได้กับเครื่องแม่ข่าย (Server) ของ www.thcity.com

เมื่อเริ่มต้นการใช้งานครั้งแรก ด้านขวามือยังว่างเปล่า ให้คลิกที่ Open a Remote connection
        4. จะปรากฏ Site Manager ที่ได้ตั้งไว้แล้ว ให้คลิกที่ชื่อของ Sites--> Connect
        5. ด้านขวามือจะปรากฏชื่อของ Site ที่ได้เลือกในการต่อติดเพื่อรอรับข้อมูลที่เราจะอัพโหลด (Upload) จากด้านซ้ายมือโดยใช้วิธีคลิกที่ลูกศรซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง เพียงเท่านี้ก็เป็นการอัพโหลดข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ที่เครื่องแม่ข่ายที่เราได้ขอพื้นที่ในการเก็บข้อมูลไว้
        6. เมื่อคลิกที่ Connect จะสามารถเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าต่างๆ คือ
        Connection Wizard        :  การกำหนดค่าเพื่อนใช้งานในโปรแกรม WS-FTP
        Site Manager                  :  กำหนด Site สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในฝั่งเครื่องแม่ข่าย
        7. หรือ เมื่อคลิกที่ Connection Wizard เพื่อต้องการเปลื่ยนแปลงการกำหนดค่าสำหรับการใช้งานในโปรแกรม WS-FTP

เว็บไซต์ที่ให้พื้นที่สร้างโฮมเพจฟรี

http://www.hypermart.net

http://www.thai.net

http://www.thaitopsites.com

http://www.thai4free.com




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7


1. การดาว์นโหลด คือ (Downlond) คือ
        ก. การนำเอาไฟล์ข้อมูล จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
        ข. การนำเอาไฟล์ข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปเก็บไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
        ค. ถูกทั้ง ก,
        ง. ไม่มีข้อถูก

2. ประเภทของโปรแกรมที่ดาว์นโหลดมีกี่ประเภท
        ก. 1 ประเภท
        ข. 2 ประเภท
        ค. 3 ประเภท
        ง. 4 ประเภท

3. ไฟล์สกุล .avi คือไฟล์ของโปรแกรมอะไร
        ก. โปรแกรม Paint และ Photoshop
        ข. โปรแกรม Windows Media Player
        ค. โปรแกรม Microsoft Word
        ง. โปรแกรม Read Player

4. ไฟล์นามสกุลใด เป็นไฟล์รูปภาพ
        ก. .doc
        ข. .avi
        ค. .mpg
        ง. jpg

5. โปรแกรมแชร์แวร์ คือข้อใด
        ก. โปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี
        ข. โปรแกรมที่ให้ทดลองใช้เฉพาะบางส่วนของโปรแกรม
        ค. โปรแกรมสำหรับการทดลองใช้โดยกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน
        ง. โปรแกรมที่ต้องจ่ายเงินซื้อ เมื่อต้องการจะใช้งาน

6. ข้อใดคือคุณสมบัติของโปรแกรม Winzip
        ก. แสดงผลแบบ Text File
        ข. บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง
        ค. อัพโหลดไฟล์
        ง. ช่วยโหลดโปรแกรมได้เร็วขึ้น

7. ข้อใดคือคุณสมบัติของโปรแกรม WS-FTP
        ก. ช่วยให้เราสามารถอัพโหลดข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
        ข. ได้รับพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น
        ค. สามารถโหลดไฟล์ข้อมูลได้มากกว่าปกติ
        ง. ไม่มีข้อถูก

8. ข้อใดคือโปรแกรมที่ดาว์นโหลด
        ก. แชร์แวร์
        ข. เดโมแวร์
        ค. โปรแกรมฟรี
        ง. ถูกทุกข้อ

9. โปรแกรมประเภทใดที่เราสามารถใช้ได้เพียงบางส่วน
        ก. โปรแกรมฟรี
        ข. โปรแกรมรุ่นเบต้า
        ค. เดโมแวร์
        ง. แชร์แวร์

10. ไฟล์นามสกุลใด เป็นไฟล์โปรแกรม Winzip
        ก. .zip
        ข. .avi
        ค. .mpg
        ง. jpg












เฉลย  1.ก   2.ง   3.ข   4.ง   5.ค   6.ข   7.ก   8.ง   9.ค   10.ก

 

หน่วยที่ 5 เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)

แนวคิด
        การศึกษาเรื่องของหมายเลขประจำเครื่อง (IP Address) และโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น มีความจำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เนื่องจากโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะช่วยในการค้นหาและเรียกดูเว็บไซต์ตามที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เรากำหนดผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นอกจากนี้จะมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับโดเมนเนม โครงสร้างของระบบโดเมานเนมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งขั้นตอนของการจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อนำไปใช้สำหรับการทำงานจริง
        และอีกหนึ่งที่มีความจำเป็นในการเรียกดูเว็บไซต์คือ รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล หรือ URL ซึ่งเป็นรูปแบบของที่อยู่เว็บไซต์ที่เราสามารถเจาะจงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ชัดเจนได้ ทำให้สามารถเดินทางไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สาระการเรียนรู้
        1. เครือข่ายใยแมงมุม
        2. หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)
        3. โดเมนเนม (Domain Name)
               3.1 สาระน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name
               3.2 โครงสร้างของระบบ Domain Name
               3.3 ลักษณะของ Domain Name
               3.4 วิธีการจดทะเบียน Domain Name
        4. รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล
        5. การเชื่อมโยงข้อมูล (Link)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        1. อธิบายความหมาย World wide Web ได้
        2. บอกประวัติความเป็นมาของ World wide Web ได้
        3. อธิบายความหมายและความสำคัญของหมายเลขประจำเครื่อง (IP Address) ได้
        4. บอกลักษณะของการกำหนดค่า IP Address ได้
        5. บอกหน้าที่และลักษณะของโดเมนเนมได้
        6. บอกรูปแบบของรหัสสืบค้นแหล่งข้อมูลได้
        7. อธิบายรูปแบบของการเชื่อมโยงข้อมูลได้ 

เครือข่ายใยแมงมุม
        ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก และการใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการใช้งานที่ทำได้ง่าย สะดวก และมีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบทำให้ทุกคนสามารถใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง และในระบบงานราชการของไทยในยุคปัจจุบันก็จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน เพื่อทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ถึงกันได้ และช่วยลดปริมาณกระดาษในการนำส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานได้อีกด้วย
        การบริการอย่างหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก จึงทำให้ระบบนี้ถูกเรียกว่า “เครือข่ายใยแมงมุม” (World wide Web) หรือ www หรือ web นั่นเอง

        ระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ (World wide Web) ได้พัฒนาขึ้นมา ในช่วงปลายปี 1989โดย ทิม เบอร์เนอร์ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Partide Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ใช้โปรโตคอล (Protocol) HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) และได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้สนุบสนุนการเผยแพร่เอกสารเว็บจากเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ เรียกว่าภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงเว็บเพจผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) นั่นเอง

        การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อประเภทเว็บเพจเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า การศึกษาข้อมูล ความรู้ต่างๆ การเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์ การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อ-ขายสินค้า ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม การเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบนี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้ที่สนใจได้ทั่วโลกตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็ทำให้ทั้งรูปแบบข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ จึงทำให้ระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

        ลักษณะของการการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจคือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บเพจได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “Hyper Text” ซึ่งเป็นข้อความที่มีความสามารถมากกว่าข้อความปกติ จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเก็บสามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเองตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง


               ถ้า นายทิม เบอร์เนอร์ลี ตัดสินใจจดสิทธิบัตรแทคโนโลยีของเขาไปเอปี 2532 โลกอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันคงจะแตกต่างไปจากที่เราเห็นกันอยู่โดยสิ้นเชิง และคงจะไม่มี “เวิลด์ ไวด์ เว็บ” (World Wide Web) ที่สามารถใช้บริการได้ฟรี

        นายเบอร์เนอร์ลี ถือได้ว่าเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดโลกเวิลด์ ไวด์ เว็บก่อนหน้าที่เขาจะคิดค้นเทคโนโลยีตัวนี้ขึ้นมา โลกนี้ยังไม่มีโปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ต หรือ เบราว์เซอร์ (Browser) ไม่มีตัวอักษร “WWW” ที่อยู่หน้าเว็บไซต์ ไม่มียูอาร์แอล (URL) และไม่เคยมีการกำหนดพื้นที่แสดง ข้อมูล ที่เป็นมาตรฐานเดียว
        เขาเป็นผู้คิดค้นโปรโตคอลการสื่อสารหลัก “เอชทีทีพี” (Http) ตัวแรกที่ใช้ในการรับส่งหน้าเว็บรวมทั้งภาษา HTML ที่ใช้สรร้างโปรโตคอลตัวนี้ขึ้นมาด้วย และก่อนวันคริสต์มาส เมื่อปี 2533 เขาสามารถสร้าง “เบราว์เซอร์” หรือโปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ตตัวแรกได้สำเร็จ พร้อมตั้งชื่อให้อย่างง่ายๆ ว่า “เวิลด์ ไวด์ เว็บ
        ซึ่งต่อมาได้มีนักคิดค้นจำนวนมากที่ได้นำแนวคิดนี้ไปจดสิทธิบัตร ล้วนแต่กลายเป็นเศรษฐีทั้งสิ้น เช่น เจฟฟ์ เบโซส์ (อะเมาซอน ดอท คอม) เจอร์รี่ หยาง (ยาฮู) หรือ มาร์ค แอนดรีเอสเซ่น (เนทสเคป) แค่ด้วยเหตุที่ เบอร์เนอร์ลี และโรเบิร์ต ไคลิโอ เพื่อนร่วมงานชาวเบลเยี่ยม ยืนยันที่จะใช้เทคโนโลยีตัวนี้เป็นของฟรี จึงทำให้คอทพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถมองเห็นหน้าเว็บเดียวกันได้
        ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเป็นผู้แรกที่คว้ารางวัล “เดอร์ มิลเลนเนียม ไพรซ์” ของสถาบันเทคโนโลยีฟินแลนด์ ที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้เอง


        เว็บเพจ (Web Page) คือ หน้าเอกสารเว็บ (Web) แต่ละหน้าที่สามารถเชื่อมโยงกันได้เปรียบเสมือนหน้าของหนังสือที่เราอ่านแต่ละหน้า
        เว็บไซต์ (Web Site) คือ หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า นำมารวมกันเปรียบได้กับหนังสือ 1 เล่มที่ประกอบด้วยหน้าของหนังสือหลายๆ หน้า
        โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ (Web Site) เปรียบได้กับปกหนังสือที่จะอยู่ที่หน้าแรกสุดก่อนที่จะเปิดเข้าไปอ่านเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นๆ

        โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น http, ftp, หรือ pop เป็นต้น

หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)

         การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐาน TCP/ IP (Trams,ossopm Cpmtrp Protocl / Interner Protocol)เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขประจำตัว เพื่อจะได้สามารถอ้างอิงหมายเลขในการเรียนใช้งาน และหมายเลขประจำตัวนี้จะต้องไม่ซ้ากันเช่นเดียวกับหมายเลขประจำตัวประชาชน ของแต่ละบุคคล ซึ่งหมายเลขประจำตัวนี้จะไม่ซ้ำนเช่นเดียวกับหมายเลขที่เรียกว่า IP Addtess (Interner Protocol Address)หรือ "หมายเลข IP"

        IP Address คือ หมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การกำหนดหมายเลข IP Address ประกอบด้วยเลขหมายจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต จะรวมเป็นค่าตัวเลข 32 บิต ค่าของตัวเลขแต่ละส่วนมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255

        สามารถเขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องด้วยหมาย จุด (.)เช่น 202.14.164.0 ซึ่งแต่ละชุดของ IP Address จะมีตัวเลขไม่เกิน 3 ตัว และค่าของตัวเลขแต่ละชุด จะไม่เกิน 255 และการกำหนดค่า IP Address จุต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกลาง คือ Inter NIC (Internet Netwok Informarion Center)ขององค์การ Nerwork Solution Incorporated (NSI)ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา องค์กรหรือหน่วยงานใดที่ต้องการ IP Address ต้องสมัครเป็นสมาชิดกับองค์การ Inter NIC
        นอกจากนี้สามารถที่จะขอ IP Address ได้จาก ISP (Interner Service Provider)คือบริษัทผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่ง ISP ได้ขอหมายเลข IP Address จาก InterNIC เอาไว้แล้ว เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตน
        การแบ่งกลุ่มของ IP Address จะเรียกว่า คลาส (Class)สามารถแบ่งออกเป็น 5 คลาส ดังนี้

Class
Range
A

B

C

D

E
0.0.0.0      ถึง 127.255.255.255

128.0.0.0  ถึง 191.255.255.255

192.0.0.0  ถึง 223.255.255.255

224.0.0.0  ถึง 239.255.255.255

240.0.0.0  ถึง 247.255.255.255


โดเมนเนม (Domain Name)

        โดเมนเนม หรือที่เรียกว่า ที่อยู่ของเว็บไซต์ เป็นชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกหมายเลข IP Addressเนื่องจากเกิดความยุ่งยากในการจำหมายเลข IP Address เวลาที่ต้องการท่องเที่ยวในอินเทอร์เน็ต จึงได้นำตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับหมายเลข IP Address ชื่อของโดเมนเนมแต่ละชื่อจะมีอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น

        เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เค โอ แอล เน็ต จำกัด มีหมายเลข IP Address คือ 210.86.141.20 ชื่อของโมเมนเนมแต่ละชื่ออยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น

        โดเมนเนมถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพราะได้มีการจดทะเบียน ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งในประเทศๆไทยหน่วยงานที่รับผิชอบ คือ "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย THNIC : Thailand Nertwork Informarion Center"

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name
        1. โดเมนเนมแรก คือ Symbolics .com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985
        2.Park คือ การจองโมเมนเนม โดยที่ยังไม่นำไปใช้งาน
        3.Cybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่น
        4.ติดตามสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลกได้จาก http://www.domainstats.com/
        5.ICANN htt://www.icann.org เป็นองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม จัดสรรหมายเลขไอพีบริหารระบบอุปกรณ์ด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมนเนม และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไร
        6.ในอดีตชื่อโดเมนเนม ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเปลี่ยนไม่เกิน 11 ตัวอักษร
        7.ในการขอจดชื่อโดเมนเนมจะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่
        8.ตรวจสอบชื่อโดเมนเนมได้จากเว็บไซต์

           - http://www.netsol.com                                       - http://www.thnic.net
                                       (http://www.nectec.or.th/courseware)

โครงสร้างของระบบ Domain Name


                           www.nvc-korat.ac.th                                   mail.nvc-korat.ac.th

        Root Bomain: คือระดับบนสุดของระบบโดเมนเนม ซึ่งทุกโดเมนเนมจะต้องอยู่ภายใต้รูปโดโมเมนทั้งหมด
        Top-Level Domain : คือระที่รองมาจากรูปโหนดโดเมน จะเรียกว่าโดเมนระดับที่หนึ่งซึ่งโดเมนในระดับนี้จะถูกกำหนดโดยประเภทองค์กร (Organization Domains)และประเทศที่จดทะเบียนโดเมน (Geographical Domains)

        Second-Level Domain: โดเมนเนมระดับที่ 2 รองมาจาก Tpp-Level Domain  จะเป็นโดเมนเนมที่แจกจ่ายให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการมีโดเมนเนม (จตุชัย แพงจันทร์ และคณะ 2547207)

ลักษณะของ Domain Name



        ส่วนที่ 1 ชื่อของการให้บริการ www คือ การให้บริการแบบเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงเอกสารไปได้ทั่วโลก
        ส่วนที่ 2 ชื่อเว็บไซต์ โดยส่วนมากมักจะใช้ชื่อของหน่วยงาน องค์กร หรือชื่ออื่นใดก็ได้ตามความต้องการจากตัวอย่าง nvc-korat คือ ชื่อที่ใช้แทนวิทยบาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาโดยการตั้งชื่อนั้นไม่มีกฎข้อบังคับใด ๆ แต่มักจะนิยมตั้งชื่อให้สอดคล้องกับหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น เพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่าย
        ส่วนที่ 3 ประเภทของโดเมนเนม (Domain Name)

โดเมนเนม (Domain Name) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
        1.Organization Domains โดเมนเนม 2 ระดับ แสดงถึงองค์กร หรือหน่วยงานลักษณะดังนี้ เช่น www.thai2learn.com , www.berkeley.eduhttp://www.pladib.net/


        2.Geographical Domains โดเมนเนม 3 ระดับ มีลักษะดังนี้ www.google.co.th,www.nvc-korat.ac.th ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบของ 2 ระดับ คือ หลังจากบอกประเภทขององค์แล้วจะตามด้วยชื่อประเทศที่ตั้งขององค์กรนั้น


วิธีการจดทะเบียน Domain Name

        วิธีการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) นั้น สามารถกระทำผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือสามารถขอขดทะเบียนผ่านทางบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ โดยถ้าต้องการจดโดเมนเนมแบบ Geoganizization ก็สามารถจะทะเบียนผ่านทาง www.thic.net แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนเป็นแบบ Organixation Domains ก็สามารถเลือกจดทะเบียนได้ตามเว็บไซต์ที่เป็นตัวแทน เช่น www.netdesighost.com

        แสดงตัวอย่าง : ขั้นตอนในการจดทะเบียนโดเมนเนมแบบ Organization Domains ดังต่อไปนี้
        1.พิมพ์ www.netdesignbost.com
        2.เลือกเมนู Domain Name
        3.พิมพ์ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการ เพื่อตรวจสอบว่าชื่อนี้มีการจดทะเบียนหรือยัง ถ้ามีการจดทะเบียนไปแล้ว เราจะต้องใช้ชื่อใหม่เพราะไม่สามารถที่จะจดทะเบียนด้วยชื่อที่ซ่ำกันได้
        4.ถ้าชื่อโดเมนเนมที่เราได้ตรวจสอบไปนั้นยังไม่มีผู้ใดใช้อยู่จะแสดงชื่อ เพื่อให้เลือกประเภทขององค์กรที่ต้องการ เช่น kulrapee.com , kulrapee.org,kulrapee.net
        5.ให้กำหนด Username และ Password ที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม
        6.กรอกข้อมูลการลงทะเบียน
        7.แสดงข้อมูลการลงทะเบียนมาให้ตรวจสอบอีกครั้ง
        8. แสดงรายละเอียดการชำระเงินค่าจดทะเบียนโดเมนเนม เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้วก็จะมีโดเมนเนมตามที่ได้ข้อจดทะเบียนไว้

รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล

        การท่องเที่ยวในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีเมนูหรือตำแหน่งของการเชื่อมโยง(link)ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นส่วนย่อยของเว็บไซต์นี้ หรือเป็นเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บไว้ในกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วบางครั้งเสมือนกับเราได้เปิดประตูเข้าไปในทีละชั้นจนพบกับข้อมูลที่เราต้องการ เมื่อดูที่ช่องที่อยู่ (Address)จะเห็นว่าชื่อของเว็บไซต์นั้นมีชื่อยาวขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
       การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะถูกกำหนดโดยรหัสสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า URL (Uniform Resource Locatpr)ใช้สำหรับสืบค้นแหล่งข้อมูล
        ดังนั้นการใช้ URL ก็เสมือนกับการสั่งให้กระโดดไปยังหน้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเปิดเข้าไปหาทีละหน้า เพราะได้ทราบถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไปแล้ว

        รูปแบบของ URL ที่ใช้กับ Web Server มีดังนี้


หมายเลข 1 Protocol คือ ชื่อของมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์ เช่น http,ftp ,gopher
หมายเลข 2 Domain Name คือ ส่วนที่ระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่
หมายเลข 3 File Locator คือ ตำแหน่งของไฟล์ในเว็บไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                1.ส่วนที่ระบุที่เก็บข้อมูลในเครื่อง
                2.ชื่อไฟล์ข้อมูลที่อ้างถึง

การเชื่อมโยงข้อมูล
        เว็บเพจแต่ละหน้าใน World Wide Web จะสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ทำให้เราสามารถที่จะเรียกดูเว็บเพจอื่นโดยการคลิกเมาส์เพื่อกระโดดไปยังข้อมูลที่ต้องการได้ เราสามารสร้าง จุดเชื่อมโยงผ่านทางข้อความ รูปภาพ หรือปุ่มเมนู โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูป เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่าจุดใดเป็นจุดเอมโยงข้อมูล (link)เมื่อคลิกเลือกเว็บเพจที่จะถูกเชื่อมโยงไว้จะถูกเรียกมาแสดง

 การเชื่อมโยงข้อมูล (link) สามารถเชื่อมโยงได้ดังนี้
        1.การเชื่อมโยงข้อมูลภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
        2.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกัน
        3.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1. เว็บเพจ (Web Page) คือ
        ก. หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า
        ข. หน้าแรกของเว็บไซต์
        ค. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        ง. หน้าเอกสารเว็บ

2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ
        ก. หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า
        ข. หน้าแรกของเว็บไซต์
        ค. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        ง. หน้าเอกสารเว็บ

3. โฮมเพจ (Home Page) คือ
        ก. หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า
        ข. หน้าแรกของเว็บไซต์
        ค. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        ง. หน้าเอกสารเว็บ

4. โปรโตคอล (Protocol) คือ
        ก. หน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า
        ข. หน้าแรกของเว็บไซต์
        ค. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        ง. หน้าเอกสารเว็บ

5. โดเมนเนม คือ
        ก. Cybersquatter.com
        ข. Symbolics.com
        ค. netsol.com
        ง. thnic.com

6. Top-Level Domain คือ
        ก. ระดับบนสุดของระบบโดเมนเนม
        ข. ระดับที่รองมาจากทรูโหนดโดเมน
        ค. โดเมนเนมระดับที่ 2 รองมาจาก Top-Level Domain
        ง. ไม่มีข้อถูก

7. .com ย่อมาจากองค์กรประเภทใด
        ก. สถาบันการศึกษา
        ข. องค์กรของรัฐบาล
        ค. บริษัท หรือองฺค์กรพาณิชย์
        ง. องค์การทางทหาร

8. นายทิม  เบอร์เนอร์ลี จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีเมื่อปี พ.ศ. ใด
        ก. 2531
        ข. 2532
        ค. 2533
        ง. 2534

9. Protocol คือ
        ก. ชื่อของมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์
        ข. ส่วนที่ระบุชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บเพจ
        ค. ตำแหน่งของไฟล์ในเว็บไซต์
        ง. ถูกทุกข้อ

10. ชื่อย่อของ uk คือประเทศใด
        ก. ไทย
        ข. ออสเตรเลีย
        ค. สหรัฐอเมริกา
        ง. สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)


เฉลย 1.ง  2.ก   3.ข   4.ค   5.ข   6.ข   7.ค   8.ข   9.ก   10.ง